Category Archives: ตำบลสร่างโศก

ตำบลสร่างโศก

ตำบลสร่างโศก is the position for activity in post to presented  1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.

ตำบลสร่างโศก เป็นตำบลหนึ่งใน 9 ตำบล ของอำเภอบ้านหมอ

บ้านหมอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี

ประวัติ[แก้]

เดิมในสมัยโบราณเมื่อยังไม่มีอำเภอพระพุทธบาทนั้น การปกครองบริเวรพระพุทธบาทสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้โปรดกำหนดเขตท้องที่จากรอยพระพุทธบาทออกไปด้านละโยชน์ (16 กิโลเมตร) และทรงตั้งเมืองพระพุทธบาทขึ้น จัดเป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา เมืองพระพุทธบาทนั้คงเป็นเมืองตลอดมาจนถึงรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้จัดการปกครองหัวเมืองแบบใหม่ โดยตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้น เมื่อพ.ศ. 2437 ยุบเมืองพระพุทธบาทเป็นอำเภอ “อำเภอพระพุทธบาท” ให้ขึ้นอยู่กับเมืองสระบุรี ปี พ.ศ. 2445 มีการสร้างทางรถไฟไปถึงลพบุรี ตำบลหนองโดนก็มีทางรถไฟผ่าน ครั้นปี พ.ศ. 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระพุทธบาทเกิดโรคห่าระบาดขึ้น จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลหนองโดน เพื่อสะดวกต่อการคมนาคมในสมัยนั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอหนองโดน” บ้านหมอ และพระพุทธบาท ก็กลายเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหนองโดน

ต่อมา พ.ศ. 2464 มีการค้นพบดินขาวที่ใช้ผสมปูนซีเมนต์ได้ที่บ้านหมอ และมีการจ้างกรรมกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนขุด ขนส่งไปป้อนโรงงานที่บางซื่อ จากชุมชนเล็กๆ บ้านหมอก็ได้ขยายตัวจนเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนในปี พ.ศ. 2484 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ได้มาตั้งโรงงานที่ท่าลาน ตำบลบ้านครัวประกอบกับที่ว่าการอำเภอหนองโดนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ทางราชการไม่มีงบประมาณซ่อมแซม หลวงพัฒน์ พงศ์พานิช (พ่อค้าคหบดีชาวจีน ต้นสกุล “ผู้พัฒน์”) ได้สร้างที่ว่าการอำเภอให้ใหม่ที่ตำบลบ้านหมอ และย้ายอำเภอมาไว้ที่นี่ อำเภอใหม่จึงชื่อว่า “อำเภอบ้านหมอ) สืบมาจนปัจจุบัน ส่วนหนองโดน และพระพุทธบาท ก็กลายเป็นตำบลของอำเภอบ้านหมอ

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็น อำเภอหนองโดน[1]
  • วันที่ 14 มีนาคม 2480 โอนพื้นที่ตำบลห้วยป่าหวาย ตำบลหนองบัว อำเภอหนองโดน ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอพระพุทธบาท[2]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสระบุรี กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโอนพื้นที่ตำบลบ้านร่อม อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสระบุรี กับจังหวัดลพบุรี โดยโอนตำบลท่าศาลา ตำบลกกโก กิ่งอำเภอพระพุทธบาท อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และโอนตำบลป่าตาล ตำบลโคกลำพาน ตำบลดอนโพธิ์ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[3]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านกลับ ไปขึ้นกับตำบลหนองโดน โอนพื้นที่หมู่ 14 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านหมอ ไปขึ้นกับตำบลตลาดน้อย โอนพื้นที่หมู่ 6,7,8 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางโขมด ไปขึ้นกับตำบลบ้านหมอ โอนพื้นที่หมู่ 10,11,12,15 (ในขณะนั้น) ของตำบลขุนโขลน ไปขึ้นกับตำบลพุกร่าง โอนพื้นที่หมู่ 1,4 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนทอง ไปขึ้นกับตำบลหรเทพ และยุบตำบลสะพานช้าง ไปรวมกับตำบลบางโขมด[4]
  • วันที่ 6 พฤษภาคม 2484 ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองโดน จากตำบลหนองโดน มาตั้งที่บ้านหมอ ตำบลบ้านหมอ[5]
  • วันที่ 14 ตุลาคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่หมู่ 12,13 (ในขณะนั้น) ของตำบลขุนโขลน กิ่งอำเภอพระพุทธบาท อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[6]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2487 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เป็น อำเภอบ้านหมอ[7]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านหมอ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านหมอ[8]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพระพุทธบาท อำเภอบ้านหมอ เป็น อำเภอพระพุทธบาท[9]
  • วันที่ 9 เมษายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองโดน ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองโดน[10]
  • วันที่ 17 มกราคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าลาน ในท้องที่ตำบลบ้านครัว[11]
  • วันที่ 12 กรกฎาคม 2511 แยกพื้นที่ตำบลหนองโดน ตำบลบ้านกลับ และตำบลดอนทอง อำเภอบ้านหมอ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองโดน ขึ้นกับอำเภอบ้านหมอ[12]
  • วันที่ 4 มิถุนายน 2514 แยกพื้นที่ตำบลดอนพุด ตำบลไผ่หลิ่ว ตำบลบ้านหลวง และตำบลดงตะงาว อำเภอบ้านหมอ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอนพุด ขึ้นกับอำเภอบ้านหมอ[13]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลสร่างโศก แยกออกจากตำบลหนองโดน และตำบลหนองบัว[14]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม 2515 โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท ไปขึ้นกับตำบลหนองโดน กิ่งอำเภอหนองโดน[15]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2518 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองโดน อำเภอบ้านหมอ เป็น อำเภอหนองโดน[16]
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2521 จัดตั้งสุขาภิบาลดอนพุด ในท้องที่หมู่ 1,2,3,4,5 ตำบลดอนพุด[17]
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอดอนพุด อำเภอบ้านหมอ เป็น อำเภอดอนพุด[18]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านหมอ และสุขาภิบาลท่าลาน เป็นเทศบาลตำบลบ้านหมอ และเทศบาลตำบลท่าลาน ตามลำดับ
  • วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองขีดขิน[19]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบ้านหมอตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบ้านหมอแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 79 หมู่บ้าน

1. บ้านหมอ (Ban Mo) 6. โคกใหญ่ (Khok Yai)
2. บางโขมด (Bang Khamot) 7. ไผ่ขวาง (Phai Khwang)
3. สร่างโศก (Sang Sok) 8. บ้านครัว (Ban Khrua)
4. ตลาดน้อย (Talat Noi) 9. หนองบัว (Nong Bua)
5. หรเทพ (Horathep)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบ้านหมอประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านหมอ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านหมอ
  • เทศบาลตำบลท่าลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านครัวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลตลาดน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดน้อยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางโขมด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโขมดทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสร่างโศก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร่างโศกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองขีดขิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหมอ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านหมอ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกใหญ่หรเทพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหรเทพและตำบลโคกใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ขวางทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • บ่อน้ำโบราณ
  • ทะเลสาบบ้านหมอ
  • เมืองขีดขิน
  • ถนนพระเจ้าทรงธรรม

การคมนาคม[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3022 พระพุทธบาท-ท่าเรือ

Call Now Button