Category Archives: อำเภอสัตหีบ

อำเภอสัตหีบ

อำเภอสัตหีบ is the position for activity in post to presented  1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.

อำเภอสัตหีบ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรีประมาณ 85 กิโลเมตร ความสำคัญของสัตหีบคือเป็นเมืองแห่งฐานทัพเรือและเป็นฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอสัตหีบเป็นอำเภอใต้สุดของจังหวัดชลบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

มีเรื่องเล่าว่า ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก

ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “ยายแจง” แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้

หลายท่านให้ความคิดเห็นว่า “สัตต” แปลว่า เจ็ด “หีบ” หมายถึง หีบ ฉะนั้นคำว่า “สัตหีบ” ก็น่าจะแปลว่า หีบเจ็ดใบ ซึ่งสอดคล้องตามตำนานประวัติ[เจ้าแม่แหลมเทียน]ว่าได้นำพระราชาลงในหีบเจ็ดใบเพื่อหลบหนียักษ์ อีกหลักฐานหนึ่งมาจากกองประวัติศาสตร์[ทหารเรือ]ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2464 รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จตรวจเยี่ยมหัวเมืองชายทะเล เพื่อจะสร้างแนวป้องกันชายฝั่งทะเลด้านนอกเพิ่มขึ้น เพราะป้อมพระจุลจอมเกล้าที่ปากน้ำสมุทรปราการนั้นใกล้เมืองหลวงมากเกินไป จึงทรงดำริหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งกองทัพเรือ เพื่อตรวจตรารักษาฝั่งและเขตน่านน้ำใหญ่ จึงพระราชทานนามว่า สัตตหีบ เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นเกาะ 7 เกาะ เป็นที่กำบังลมให้แก่หมู่เรือได้ดี คำว่า “สัตหีบ” หมายถึง ที่กำบังเจ็ดแห่ง (หีบ = ที่บัง) อันหมายถึงเกาะต่าง ๆ กล่าวคือ เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา

สัตหีบแยกจากอำเภอบางละมุงเพื่อเป็น กิ่งอำเภอสัตหีบ เมื่อ พ.ศ. 2480 โดยประกอบด้วยตำบลสัตหีบและตำบลนาจอมเทียน และได้รับประกาศแต่งตั้งเป็น อำเภอสัตหีบ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 ดังปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 70 ตอนที่ 17 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496 โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ นายชุมพล อุทยานิก

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 เหตุเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24J ประเทศสหรัฐอเมริกาหมายเลข 42-73302 ถูกกองทัพเรือ ยิงตก มีผู้เสียชีวิต 8 คน ถูกจับเป็นเชลย 2 คน[1] ท่ามกลางสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก[2]
19 เมษายน พ.ศ. 2509 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเรือใบ ประเภทโอเคขนาด 13 ฟุต ชื่อ “เวก้า” (VEGA) จากวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เวลา 04.28 น. ข้ามอ่าวไทยไปยังอ่าวเตยงาม ซึ่งมีระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล ด้วยพระองค์เองเพียงลำพัง ซึ่งทรงใช้เวลาในการแล่นใบในครั้งนี้ถึง 17 ชั่วโมงเต็ม โดยเสด็จถึงอ่าวเตยงามเมื่อเวลา 21.28 น. โดยได้ทรงนำธง “ราชนาวิกโยธิน” ข้ามอ่าวไทยมาด้วย หลังเสด็จถึง ทรงปักธง “ราชนาวิกโยธิน” เหนือยอดก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวเตยงาม ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลาจารึก เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่กองทัพเรือสืบไป

6 มกราคม พ.ศ. 2561 เรือบรรทุกสินค้าชื่อ ไฮเดอราบัต ชนเข้ากับเรือประมงโชคชูชัย นับเป็นเหตุการณ์เรือชนกันจนมีผู้เสียชีวิต 4 ราย นับเป็นเหตุการณ์เรือชนกันจนมีผู้เสียชีวิตครั้งร้ายแรงรองลงมาจาก เหตุเรือโดยสารระหว่างศรีราชาเกาะสีชัง ถูกเรือบรรทุกน้ำมันชนนอกชายฝั่ง ผู้โดยสารที่ติดอยู่ในเรือเสียชีวิต 119 คน จาก 131 คน ซึ่งเกิดที่อำเภอศรีราชา เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอสัตหีบแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตำบลสัตหีบ (Sattahip)
2. ตำบลนาจอมเทียน (Na Chom Thian)
3. ตำบลพลูตาหลวง (Phlu Ta Luang)
4. ตำบลบางเสร่ (Bang Sare)
5. ตำบลแสมสาร (Samaesan)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอสัตหีบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองสัตหีบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1-8 ตำบลสัตหีบ และบางส่วนของหมู่ที่ 7 ตำบลพลูตาหลวง
  • เทศบาลตำบลนาจอมเทียน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1 (บางส่วน), 2 (บางส่วน), 3 (บางส่วน), 4, 8 (บางส่วน), 9 ตำบลนาจอมเทียน
  • เทศบาลตำบลบางเสร่ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-2, 3 (บางส่วน) , 4, 5 (บางส่วน), 6 (บางส่วน), 8, 9 (บางส่วน), 10 (บางส่วน) ตำบลบางเสร่
  • เทศบาลตำบลเขตรอุดมศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 9 รวมทั้งบางส่วนของหมู่ที่ 1-8 ตำบลสัตหีบ
  • เทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 3 (บางส่วน), 5 (บางส่วน), 6 (บางส่วน), 7, 9 (บางส่วน), 10 (บางส่วน), 11 ตำบลบางเสร่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางเสร่)
  • เทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1 (บางส่วน), 2 (บางส่วน), 3 (บางส่วน), 5-7, 8 (บางส่วน) ตำบลนาจอมเทียน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาจอมเทียน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-6, 7 (บางส่วน), 8 ตำบลพลูตาหลวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองสัตหีบ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสมสารทั้งตำบล

เศรษฐกิจ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและประมงปัจจุบันมีแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมรอบ ๆ มาพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่อาชีพเสริมได้แก่การเกษตร โดยมีผลผลิตสำคัญ เช่น มันสำปะหลัง มะม่วง ข้าว มะพร้าว อ้อย ทุเรียน กล้วย แตงโม กระท้อน และขนุน

การศึกษา[แก้]

สถานศึกษาก่อนวัยเรียน

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนาวิกโยธิน

2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุ่งโปรง

3.ศูนย์พัฒนาเด็กค่ายเจษฎาราชเจ้า

4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกองเรือยุทธการ

5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรักเนอสเซอรี่

6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทร.๘ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

สถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และกรมอาชีวศึกษา

  1. โรงเรียนมารีวิทย์ สัตหีบ
  2. โรงเรียนนาวิกโยธินบูรณะ
  3. โรงเรียนสิงห์สมุทร
  4. โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม ตำบลนาจอมเทียน
  5. โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา
  6. โรงเรียนธัมมสิริศึกษาสัตหีบ
  7. โรงเรียนบำรุงศิษย์ศึกษา
  8. โรงเรียนจุฬเทพบางเสร่
  9. โรงเรียนอนุบาลบ้านเตาถ่าน
  10. โรงเรียนชุมชนบ้านบางเสร่
  11. โรงเรียนเลิศปัญญา
  12. โรงเรียนบ้านอำเภอ
  13. โรงเรียนราษฏร์ประดิษฐ์วิทยา
  14. โรงเรียนวัดนาจอมเทียน
  15. โรงเรียนบ้านสัตหีบ
  16. โรงเรียนสัตหีบพาณิชยการ บ้านอำเภอ
  17. โรงเรียนจอมเทียนบริหารธุรกิจ ตำบลบางเสร่
  18. วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ตำบลนาจอมเทียน
  19. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี ตำบลนาจอมเทียน
  20. โรงเรียนชุมพลทหารเรือ, โรงเรียนพันจ่า (พื้นที่สัตหีบ) กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เกล็ดแก้ว ตำบลบางเสร่
  21. โรงเรียนผู้รู้ ญสส.๘๐
  22. โรงเรียนสัตหีบ สาขา ๑ (เขตฐานทัพฯ)
  23. โรงเรียนสัตหีบ สาขา ๒ (เขตกองเรือฯ)
  24. โรงเรียนจุกเสม็ด (หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่ง)
  25. โรงเรียนเกล็ดแก้ว
  26. โรงเรียนวัดเขาคันธมาทน์
  27. โรงเรียนวัด กม.๕
  28. โรงเรียนวัดเขาบายศรี

แหล่งน้ำจืด[แก้]

  1. อ่างเก็บน้ำหนองตะเคียน
  2. อ่างเก็บน้ำโรงเรียนชุมพล
  3. อ่างเก็บน้ำห้วยตู้ 1-2
  4. อ่างเก็บน้ำภูติอนันต์
  5. อ่างเก็บน้ำพลูตาหลวง

โรงพยาบาล[แก้]

  1. โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ
  2. โรงพยาบาลสัตหีบ กม. 10 กระทรวงสาธารณสุข
  3. โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม
  4. โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

สวนสาธารณะ[แก้]

  1. หนองตะเคียน (ปรับปรุงล่าสุดด้วยงบประมาณ 140 ล้านบาท: พ.ศ. 2550)
  2. สวนแฮปปี้ในเขตกองเรือยุทธการ
  3. สวนสาธารณะเทศบาลเมืองบางเสร่

ตำบลบางเสร่ แผ่นกันสาด โปร่งแสง

ทต. เขตรอุดมศักดิ์ หลังคา พียู ลายไม้

ทต. เขาชีจรรย์ แผ่นใส สีขาวขุ่น 

อบต. พลูตาหลวง หลังคา แซนวิช พียูโฟม

Call Now Button